วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครื่องเตือนภัยน้ำท่วม(น้ำหลาก) Floods waming System

เครื่องเตือนภัยน้ำท่วม (น้ำหลาก)
Floods waming System 
 

โดย  ปิยพล (ศกุนตนาค) กลิ่นศรีสุข



จดสิทธิบัตรวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สิทธิบัตรเลขที่ 26372



   สาเหตุการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือเตือนภัยธรรมชาติ
               
     เนื่องจากการเตือนภัยธรรมชาติจากสึนามิ  เมื่อวันที่  26  ธันวาคม  .. 2547  สร้างความสุญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
     การเกิดภัยธรรมชาติจากน้ำป่าไหลหลากที่  น้ำตกวังตะไคร้ จ.นครนายก  นอกจากนี้  เมื่อปี  .. 2549  เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากที่  อ.ท่าปลา  .ลับแล  .อุตรดิตถ์ และ อ.ท่าวังผา  .น่าน  ทำให้ประชาชนเสียชีวิตและทรัพย์สิน
     ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในความพยายามคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ที่ดีกว่า  เพื่อให้ใช้ในการเตือนภัย  ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือและมั่นใจในการอพยพ

 
โดยได้ยื่นสิทธิบัตร
-  เครื่องเตือนภัยคลื่นแผ่นดินไหวใต้ทะเล ( สึนามิ ) เมื่อวันที่   
    4  กุมภาพันธ์  ..  2548  ได้รับสิทธิบัตรเลขที่  26373
-  เครื่องเตือนภัยน้ำท่วม  (น้ำหลาก)  เมื่อวันที่  19  มิถุนายน    ..  2549  ได้รับสิทธิบัตรเลขที่  26372

วิสัยทัศน์
        เป็นการคิดค้นจากมันสมองของคนไทยโดยตรง  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมชาวโลก  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ในกรณีเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  เป็นวิธีการที่ได้ผลและมีความแม่นยำสูงกว่าวิธีการอย่างอื่น  โดยผสมผสานเทคโนโลยีระบบสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์  โดยหลักสำคัญต้องคำนึงถึงภูมิประเทศและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบการทำงานของเครื่องเตือนภัยด้วย

ระบบโทรมาตรตรวจวัดปริมาณน้ำและแจ้งเตือนล่วงหน้าโดยอัตโนมัติ
-  ใช้ตรวจวัดข้อมูลและแจ้งเตือนระยะไกลหรือเฉพาะจุดสำคัญ
-  ใช้วัดระดับน้ำและแจ้งเตือนภัยเฉพาะจุดโดยตรงทำให้เกิด
   ความแม่นยำสูงโดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่จำเป็น
-  เชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติผ่านระบบ  GPRS  ตลอด  24  ชม.
-  ระบบแจ้งเตือนภัยถึงประชาชนโดยตรงเฉพาะจุดหรือเข้าศูนย์
   ราชการและส่งต่อระบบ  SMS
-  แสดงผลข้อมูลที่เครือข่าย  Internet  ของราชการ
-  สามารถนำไปใช้งานได้หลายรูปแบบ  เช่น  ใช้วัดน้ำในเขื่อน  หรือแม่น้ำโดยอัตโนมัติใช้ติดตั้งต้นน้ำลำธารน้ำตก  เพื่อเตือนนักท่องเที่ยวใช้ติดตั้งใต้เขื่อน  เมื่อเขื่อนแตกสามารถแจ้งเตือนทันทีโดยคำนึงถึงระยะทาง  เช่น  เขื่อนศรีนครินทร์เพื่อให้ประชาชนในตัวเมืองกาญจนบุรีมีเวลาอพยพไม่ต่ำกว่า 3-4  ชม.


วิธีการติดตั้ง
         ติดตั้ง    จุดต้นน้ำหากน้ำมีปริมาณการสะสมถึงระดับที่จะเกิดอันตราย  เครื่องจะส่งสัญญาณเตือนเป็น  3  ระยะโดยอัตโนมัติ

รูปแบบโครงสร้างการติดตั้ง

(  อาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพของความจำเป็นในแต่ละจุด )


ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศแสดงจุดติดตั้ง

ลักษณะของระบบเตือนภัย  โดยคำนึงถึงความจำเป็นด้านการใช้งาน

ระบบที่  1  ติดตั้งเตือนภัยเฉพาะจุดถึงประชาชน    จุดเสี่ยงภัยโดยตรง

 
ระบบที่  2  ตัวอย่างแผนผังแสดงระบบสื่อสารบันทึกข้อมูลเข้าศูนย์ราชการ  .ปราจีนบุรี


รายละเอียดชิ้นส่วนของเครื่องภายนอก

เครื่องทำการเตือนภัยและส่งสัญญาณ


ข้อสรุป
-  การเตือนภัยต้องชัดเจน  ไม่ควรคาดการณ์แบบกว้างๆ
-  การเตือนภัยควรครอบคลุมเฉพาะจุดทำให้เกิดความแม่นยำสูง 
   และต้องรู้ว่าน้ำจะไปถึงชุมชนเมื่อใด เวลาเท่าไหร่ประชาชนไม่ต้องคอยเฝ้าระมัดระวังทั้งวันทั้งคืนหรือตลอดหลายวัน
-  การเตือนภัยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่างให้ดูยุ่งยากและข้อมูลเกินขอบเขตในการใช้งานเพราะภัยธรรมชาติเกิดขึ้นไม่แน่นอนและวงกว้างจึงต้องเน้นเป็นจุด
-  การเตือนภัยโดยตรงจึงไม่คืบหน้า  เพราะคิดแต่จะทำให้ดูว่าเป็นเครือข่ายที่ใหญ่และมีระบบเทคโนโลยีสูงซึ่งทางเราก็สามารถทำได้  และทำมานานแล้วโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใครซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง


สนใจติดต่อสอบถามที่


  คุณปิยพล     กลิ่นศรีสุข       โทร.  089-492 7869
  คุณสุรพล     กระทุ่มเขตต์             081-991 0063

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น